วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมอินโดนีเซีย

วัฒนธรรมอินโดนีเซีย
             อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ภาษาอินโดนิเซีย:Republik Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

การแต่งกาย
ริงซิง (Gringsing) ในบาหลี เป็นผ้ามัดหมี่ทั้งเส้นด้ายยืนและเส้นพุ่งใช้ในพิธีแสดง การย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และหนุ่มสาว


ผ้าเคนทัมพัน (Kain tampan) เป็นผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นผ้าที่ใช้แลกเปลี่ยนกันระหว่าง ญาติที่เกี่ยวข้องกันเพราะการแต่งงาน

ชาวอินโดนีเซีย แต่งกายโดยการนุ่งโสร่งปาเต๊ะ มาจากมาเลเซีย มีการทำโสร่งปาเต๊ะ หรือบาติก และเครื่องหนังที่ขึ้น ชื่อมาก

ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวพอดี คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็นลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางบ้างดอกบ้าง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องคอเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อ ชาวมาเลเซียจะเป็นคอยู และเสื้อยาว

ผู้ชาย แต่งชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ

การแต่งกายของชาวเกาะมีลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
การแต่งกายประจำชาติของชาวอินโดนีเซีย จะประกอบด้วย ผ้านุ่งพันรอบกายแน่น เรียกว่า กาอิน และเสื้อฟิตแขนยาว เรียกว่า กาบายะ วิธีการนุ่งผ้า และสีของเสื้อจะบอกได้ว่ามาจากส่วนใด ของเกาะ ดังนี้


-อัตเจ (สุมาตราเหนือ) เป็นพิธีการ ใช้เสื้อสีแดง กางเกงยาวสีดำ มีโสร่งนุ่งทับอีกทีหนึ่ง รัดเข็มขัด
-ตาปานะลี (สุมาตรากลาง) สวมเสื้อแขนยาว บายุกูรุง
-มินังกาโน (สุมาตราตะวันตก) สวมเสื้อบางยุกูรุง แขนยาว นุ่งโสร่ง มีสไบเฉียง ใช้ผ้า โพกศีรษะคล้ายรูปกระบือ
-ปาเล็มปัง (สุมาตราใต้) เหมือนบายุกูรุง
-ปันยาร์ (กาลิมันตัน) ในพิธีต่าง ๆ ผ้านุ่งสีแดง เสื้อแดงแขนยาว เสื้อ อยู่ในโสร่ง มี เครื่องประดับเพชร นิล จินดา
-เมอนาโด (ซูลาเวลีเหนือ) ส่วนมากนับถือคริสต์ ต้องไปโบสถ์เสมอ จึงมักสวมเสื้อสีขาว ปักดอกที่ชายเสื้อ
-มากาซาร์ (ซูลาเวลีใต้) เรียกชุดว่า “มายุโบโตะ” สาวอินโดนีเซียนิยมกันมาก วัยรุ่น นิยมสีชมพู และสีแดง ผู้ใหญ่จะใช้สีเขียวมีแถบทอง 
-อัมบอน (มาลูกุ) เหมือนชุดสุมาตร แต่สีขาว
-ติมอร์ ตามประเพณีต้องสวมโสร่ง ห่มสไบเฉียง มีลายเส้นสีทอง และเงิน
-บาหลี สวมโสร่ง มีเครื่องประดับศีรษะเป็นคอกลั่นทม
-อีเรียนชยา แต่งกายด้วยสีเหลือง ผ้านุ่งสีเขียว มีขนนกบนศีรษะ


ภาษา
       ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด การเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซียเป็นประสบการณ์ที่ให้ผลตอบแทนแก่ชาวต่างชาติ เนื่องจากการออกเสียงและไวยากรณ์ค่อนข้างเรียบง่าย ความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารประจำวันสามารถเรียนรู้ได้ในไม่กี่สัปดาห์ ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอกาส

อาหาร
“กาโด กาโด”(Gado Gado)

อาหาร สำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก
ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียง
กับสลัดแขก ของประเทศไทย


                                         สะเต๊ะ 
สะเต๊ะ เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบาง ๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่
เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน  เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด
          สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือเสียบไม้ก็ได้

เครื่องดนตรี
รือบับ
รือบับ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้คันชักอิสระ โดยทั่วไปมี 2 สาย บางถิ่นมี 3 สาย รูปร่างของรือบับคล้ายกับซอสามสายของไทย ใช้บรรเลงเดี่ยวเเละบรรเลงประกอบการขับร้องทั้งในวงกัมเมลัน เเละในวงดนตรีของชาวบ้านทั่วไป

ซารอน

ซารอน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีแผ่นโลหะจำนวน 5-7 อัน ลักษณะคล้ายกับแผ่นระนาดเหล็กของไทย ตั้งเรียงโดยมีหลักโลหะปักหัว-ท้าย มีรางทำด้วยไม้เพื่อเป็นกล่องเสียง ใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเขาควาย

ซูลิง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายกับขลุ่ย มีหลายขนาดซูลินมีเสียงไพเราะ ใช้ประสมในวงกัมเมลัน บรรเลงประกอบการขับร้อง เเละในกิจกรรมต่างๆ

เซรูไน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีลิ้นคู่ มีกำพวดสำหรับเสียบเข้ากับเลาของเซรูไน ที่เลามีรูเปิด-ปิดเสียง ส่วนปลายเป็นปากลำโพงมีทั้งที่ทำด้วยไม้เเละโลหะ มีหลายขนาด ใช้ประสมในวงฆ้องกลอง บรรเลงประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดงสีละ ซึ่งเป็นการแสดงต่อสู้ป้องกันตัว



ศาสนาประจำชาติ

ประชาชนส่วนใหญ่นับถืออิสลาม
          ก่อนอินโดนีเซียจะเป็นสาธารณรัฐ หรือก่อนประกาศอิสรภาพ อินโดนีเซียมีความเป็นอาณาจักร มีสุลตาลปกครองพื้นที่ และสุลตาลจะเป็นผู้นำของแต่ละศาสนา หลังจากปีประกาศเอกราชอินโดนีเซีย แม้ว่าประชากรในประเทศอินโดนีเซียจะมีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้นำประเทศต้องมารวมกันคิดว่าในประเทศมีชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก และมีเกาะ 17,000 กว่าเกาะ เป็นเหตุให้อินโดนีเซียไม่ได้นำเอาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติได้ เนื่องจากยังมีศาสนาอื่นๆอยู่ในประเทศอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น